Website Hit Counter
 
text banner ประวัติหนองฉิม
ที่ตั้ง
  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองฉิมอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอเนินสง่า ประมาณ    7    กิโลเมตร    และห่างจากจังหวัดชัยภูมิ   30 กิโลเมตร มีพื้นทั้งหมด    75   ตารางกิโลเมตร   ดินเป็นดินร่วนปนทรายเป็นที่ราบลุ่มสลับกับเนินลูกคลื่น และมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่  1  แห่ง  คือ  หนองซึกวึก  มีเนื้อที่   521  ไร่
   
 
  ทิศเหนือ ติดกับตำบลละหาน อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
และ ตำบลกะฮาด อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
  ทิศใต้ ติดกับตำบลรังงาม อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
  ทิศตะวันออก ติดกับตำบลตาเนิน อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ
  ทิศตะวันตก ติดกับตำบลละหาน และตำบลหนองบัวใหญ่ อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ
   
จำนวนหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน
  จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน 15 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 ถึง หมู่ 15
  หมู่ที่ 1 › บ้านหนองฉิม
หมู่ที่ 2 › บ้านโสกคร้อ  
หมู่ที่ 3 › บ้านหนองฉิม 
หมู่ที่ 4 › บ้านน้อยใต้คู
  หมู่ที่ 5 › บ้านหนองผักชี
  หมู่ที่ 6 › บ้านบะเสียว
  หมู่ที่ 7 › บ้านโสนทอง
  หมู่ที่ 8 › บ้านโนนสะอาด
  หมู่ที่ 9 › บ้านหัวหนอง
  หมู่ที่ 10 › บ้านโนนป่าชาด
  หมู่ที่ 11 › บ้านหนองฉิมกลาง
  หมู่ที่ 12 › บ้านหนองบัวแดง
  หมู่ที่ 13 › บ้านฉิมริมบึง
  หมู่ที่ 14 › บ้านเนินสง่า
หมู่ที่ 15 › บ้านโสกคร้อพัฒนา
 
ประชาการ
จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น   จำนวน   2,414   ครัวเรือน
ประชากรทั้งสิ้น   จำนวน   8,658   คน
แยกเป็นชาย   จำนวน   4,226   คน
แยกเป็นหญิง   จำนวน   4,432   คน
             
สภาพเศรษฐกิจ
• อาชีพ (แสดงอาชีพของประชากรในเขต อบต.)
อาชีพหลักของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหนองฉิมส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เช่น ทำนา ประมาณ 35,562 ไร่ (นาปี) โดยอาศัยน้ำฝน ทำไร่อ้อย มันสำปะหลัง พริก และประกอบอาชีพอื่น ๆ เช่น รับจ้างทั่วไป ค้าขาย บริการ (อู่ซ่อม-รถ) ไปทำงานต่างประเทศ
 
• หน่วยธุรกิจในเขต อบต.
ธุรกิจเฉพาะและบริการในเขตตำบลหนองฉิมมีดังนี้
         
1. สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภท 3
จำนวน 1 แห่ง
  สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท 2 จำนวน 12 แห่ง
2. ร้านค้าส่ง ค้าปลีกและจำหน่ายอุปกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง
3. โรงกลึงอู่ซ่อมรถ (ขนาดเล็ก) จำนวน 3 แห่ง
4. โรงกลึงและประกอบรถเกษตร(อีแต๋น) จำนวน 2 แห่ง
5. โกดังร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จำนวน 4 แห่ง
6. ยุ้ง ฉาง ลานตากมันเส้น(ขนาดใหญ่) จำนวน 1 แห่ง
7. ร้านค้าชุมชน (ระดับตำบล) จำนวน 1 แห่ง
8. ธนาคาร ธ.ก.ส. จำนวน 1 แห่ง
9. โรงสี จำนวน 28 แห่ง
10. ตลาดสด (จำหน่าย เช้า - เย็น) จำนวน 2 แห่ง
 
สภาพสังคม
ชุมชนตำบลหนองฉิมเป็นชุมชนที่กระจุกตัวขนาดใหญ่ 2 ชุมชน คือชุมชนหนองฉิม มีหมู่ที่ 1,3,4,7,8,9,10,11,13 จำนวน 9 หมู่บ้าน เป็นชุมชนที่มีความเจริญอย่างเร็วและขยายตัวตามเส้นทางคมนาคมสายหลัก(ถนนลาดยางขนาดผิวจราจรกว้าง 9.00 เมตร) และชุมชนหนองผักชีซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเนินสง่ามีหมู่ที่ 5,12,14 จำนวน 3 หมู่บ้าน และหมู่บ้านที่แยกห่างออกไปทางทิศเหนือและทิศใต้ 2 หมู่บ้าน คือหมู่ที่ 2,6
 
• การศึกษา
ประวัติด้านการศึกษาของหมู่บ้าน เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2473 พระภิกษุ บุญรอด สมพงษ์ เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองฉิม ได้เปิดทำการสอนกุลบุตรกุลธิดา อย่างไม่เป็นทางการ โดยอาศัยศาลาการเปรียญ ต่อมาในปี พ.ศ. 2482 นายจันทร์แดง สิงห์จันทร์ คหบดีบ้านหนองฉิมได้ชวนบุตรธิดาและญาติมิตร สร้างอาคารเรียนเป็นการถาวรขึ้นบนพื้นดินของตนเองและยกให้เป็นสมบัติของทางราชการโดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “ โรงเรียนประชาบาลตำบลละหาน 2 (สิงจันทร์บำรุง) ” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนหนองฉิม (สิงห์จันทร์บำรุง) ได้พัฒนาการศึกษาเรื่อยมาจนปัจจุบันทำให้บ้านหนองฉิมเป็นหมู่บ้านปลอดคนไม่รู้หนังสือ
 
ปัจจุบัน
- โรงเรียนประถมศึกษา  4 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา   1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตำบลหนองฉิม 1 แห่ง
- ศูนย์อบรมเด็กเล็กก่อนเกณฑ์วัดโนนสะอาด 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 15 แห่ง
 
• สถาบัน และองค์กรทางศาสนา
- โบราณสถาน พระง้าง หมู่ที่ 1
- วัดสุทธิวนาราม (ชุมชนหนองฉิม) หมู่ที่ 3,13
- สำนักสงฆ์หมู่ที่ 3 (ป่าช้า) หมู่ที่ 3
- วัดอโศการาม หมู่ที่ 2
- วัดโนนสะอาด หมู่ที่ 5
- วัดคูสีวนาราม หมู่ที่ 6
- วัดบ้านหัวหนอง หมู่ที่ 9
 
• สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐขนาด 30 เตียง 1 แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน 1 แห่ง
- ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 3 แห่ง
- การมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100  
 
• ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ 1 แห่ง
- ป้อมยามรักษาความปลอดภัย 1 แห่ง
 
การบริหารพื้นฐาน
• การคมนาคม (แสดงจำนวนและสภาพทางการคมนาคมทางบก)
มีทางหลวงแผ่นดินสายละหาน - บ้านค่าย ทางลาดยางขนาดผิวจราจรกว้าง 9.00 เมตร ระยะทาง 28 กิโลเมตร เป็นเส้นทางหลักของอำเภอผ่านสามตำบล คือ ต.กะฮาด ต.ตาเนิน ต.หนองฉิม และมีทางลาดยางจากตำบลหนองฉิม ไปตำบลรังงามอีกหนึ่งเส้นทาง
มีถนนลูกรังของกรมทางหลวงชนบทจาก ต.หนองฉิม หนองตอ เชื่อมต่อกับกิ่งอำเภอพระทองคำ และเป็นเส้นทางลัดไปจังหวัดนครราชสีมา
มีทางรถไฟสายกรุงเทพ ฯ - หนองคาย ผ่านตำบลหนองฉิม ตำบลตาเนิน
 
• การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข 1 แห่ง
- สถานีวิทยุชุมชน 2 แห่ง
 
• การไฟฟ้า( แสดงถึงจำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึงและจำนวนประชาชนที่ใช้ไฟ )
 
• แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ, ลำห้วย 5 สาย
- บึง, หนองและอื่น ๆ 12 สาย
 
• แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- ฝาย 6 แห่ง
- บ่อน้ำตื้น 28 แห่ง
- บ่อน้ำโยก 8 แห่ง
- อื่น ๆ (ระบุ) สระน้ำ 15 แห่ง
 
ข้อมูลอื่น ๆ
• ทรัพยากรในพื้นที่ ( แสดงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในเขต อบต. )
- แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่มี 5 สาย คือลำห้วยยาง หมู่ที่ 1 , 3 , 7 , 10
  - ลำห้วยโสกดินแดง , ลำห้วยเกียบ หมู่ที่ 7 ลำห้วยโปร่ง หมู่ที่ 6
   
  • มวลชนจัดตั้ง
 
- ลูกเสือชาวบ้าน 1 รุ่น 150 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ 11 รุ่น 98 คน
- กองหนุนเพื่อความมั่นคง 1 รุ่น 104 คน
   
ศักยภาพในตำบล
  • ศักยภาพในองค์การบริหารส่วนตำบล
  จำนวนบุคลากร
 
จำนวนบุคลากรทั้งหมด 39 คน
- ตำแหน่งในสำนักงานปลัด 29 คน
- ตำแหน่งในส่วนการคลัง 4 คน
- ตำแหน่งในส่วนโยธา 6 คน
   
  • ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
  การรวมกลุ่มของประชาชน
 
การอำนวยกลุ่มทุกประเภท - กลุ่ม
แยกประเภทกลุ่ม
- กลุ่มอาชีพ 4 กลุ่ม
- กลุ่มออมทรัพย์ 15 กลุ่ม
- กลุ่มอื่น ๆ - กลุ่ม
   
  จุดเด่นของพื้นที่ ( ที่เอื้อต่อการพัฒนาชนบท )
  ตำบลหนองฉิมมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ คือ หนองซึกวึก เหมาะแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำที่สำคัญ และรวมถึงสภาพบ้านเมือง การตั้งบ้านเรือนของราษฎรอยู่กันแบบรวมกลุ่มไม่เป็นแบบกระจายงานต่อการพัฒนาในด้านสาธารณูประโภค ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เพราะบ้านเรือนราษฎรอยู่เป็นกลุ่มเป็นชุมชนไม่กระจาย
   
  จุดอ่อนของพื้นที่
  จุดอ่อนของตำบลหนองฉิมมีสภาพพื้นที่ ที่ไม่เหมาะสมห่างไกลจากเส้นทางหลักพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นดินเค็มการเพาะปลูกได้ผลไม่ค่อยเต็มที่เท่าที่ควร ลำห้วยแหล่งกักเก็บน้ำมีจำกัด น้ำต่อการเกษตรไม่เพียงพอแหล่งน้ำจะอยู่จุดเดียวคือ หนองซึกวึก ซึ่งบริเวณรอบหนองส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนราษฎรอาศัยอยู่จะต้องพ้นจากน้ำหนองซึกวึกไปใช้ แต่จะต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐจำนวนมาก ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลมีศักยภาพต่อการพัฒนาการทำการเกษตรจะต้องรอน้ำจากน้ำฝนเป็นหลัก รวมถึงเส้นทางการขายส่งผลิตผลทางการเกษตรมีจำกัดและเป็นไปด้วยความยากลำบาก
   
  โอกาสและข้อจำกัด
  จากสภาพปัญหาจุดเด่นและจุดด้อยของตำบลจะเห็นได้ว่าการแก้ไขปัญหาแนวทางการพัฒนา คือ การทำโครงการขยายลำห้วย ขุดลอก รวมถึงปรับปรุงซ่อมแซมฝายกักเก็บน้ำที่มีอยู่เพื่อให้ได้น้ำได้ในปริมาณที่มากเพียงพอต่อการทำการเกษตร รวมถึงการปรับปรุงพัฒนาหนองซึกวึกเพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำได้ในปริมาณมาก และการขอรับงบประมาณ ในการดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำโดยการสูบน้ำจากหนองขึ้นตามท่อไปที่สูง และเก็บน้ำเพื่อการแจกจ่ายน้ำแก่การเกษตรในพื้นที่ขาดน้ำ